ประวัติ ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ)

ชาติกำเนิด

สมเด็จพระพุฒาจารย์ มีนามเดิมว่าวน เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2437 เป็นบุตรพระวิชิตชาญณรงค์ (เทศ วิชิตะกุล) เจ้าเมืองปราณบุรี กับนางวิชิตชาญณรงค์ (ทองอยู่ วิชิตะกุล) ภูมิลำเนาอยู่ตำบลบ้านนารายณ์ อำเภอเมืองเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน[1]

การศึกษา

เมื่ออายุได้ 7 ปี ติดตามบิดาไปอยู่อำเภอปราณบุรี ได้เรียนภาษาไทยกับ พระครูสุทธาจารคุณ (อ่ำ) วัดนาห้วย ในปีพ.ศ. 2446 บิดาได้ฝากเป็นศิษย์ของพระอาจารย์แก้ว ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้เรียนภาษาบาลีกับพระมหาถนอม อคฺคปญฺโญ ต่อมาได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระครูฌาณภิรัต (โป๊ะ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เรียนภาษาไทยและภาษาบาลีที่โรงเรียนกล่อมพิทยากร พออายุได้ 15 ปี จึงได้บรรพชาโดยมีพระอาจารย์หมก วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2456 สอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ถึงปีพ.ศ. 2457 ได้กลับไปอุปสมบท ณ วัดนาห้วย เมืองปราณบุรี โดยมีพระอาจารย์เดิม เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระวันรัต (เผื่อน ติสฺสทตฺโต) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระศากยบุตติยวงศ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อบวชแล้วกลับมาอยู่วัดพระเชตุพนฯ ตามเดิม ได้เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมของสำนัก ต่อมาสอบได้เป็นเปรียญธรรม 6 ประโยค และสอบนักธรรมชั้นเอกได้เป็นรุ่นแรก[2]

สมเด็จพระพุฒาจารย์(วน) วัดอรุณราชวราราม ได้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ถึงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๘

ใกล้เคียง

สมเด็จพระพุฒาจารย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม พุทฺธสโร) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เสงี่ยม จนฺทสิริ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (วน ฐิติญาโณ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว จนฺทสิริ)